ถุงมือไนไตร : ทนสารเคมีได้ดีกว่า

ถุงมือไนไตร ทนสารเคมีอะไรบ้าง

ถุงมือไนไตร : ทนสารเคมีอะไรได้บ้าง

หากท่านผู้อ่านได้ติดตามบทความของทางเวป siamglove.com มาโดยสม่ำเสมอ จะทราบว่าถุงมือไนไตรจะมีข้อแตกต่างจากถุงมือแพทย์จากยางธรรมชาติหลายๆด้านเช่น เหนียวกว่า แข็งแรงกว่า ทนทานกว่า ป้องกันการแพ้ได้ดีกว่าเป็นต้น แต่โดยหลักๆแล้ว เรามักจะใช้ถุงมือไนไตร เพื่อป้องกันการอาการแพ้ และจำเป็นต้องใช้งานที่ต้องสัมผัสสารเคมี กรด เบส แอลกอฮอล์ น้ำมัน ไขมันต่างๆ

ทางเวปได้เคยเขียนบทความถึงข้อจำกัดของถุงมือยางธรรมชาติ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ โปรตีนที่อยู่ในยางธรรมชาติ อาจก่อให้เกิดการแพ้แก่ผู้สวมใส่บางคน ซึ่งโปรตีนนั้นในอาจสัมผัสร่างกายของผู้สวมใส่ได้ทั้งทางผิวหนังและทางระบบหายใจ หากผู้ที่มีอาการแพ้โปรตีนสวมใส่ ก็อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ในระดับต่างๆ ตามสภาพร่างกายของแต่ละคน ซึ่งมีตั้งแต่ เป็นผื่นแดง คัน เป็นตุ่ม จนถึงอาการหืดหอบ หรือช๊อกได้

นอกจากขจัดปัญหาเรื่องการแพ้ยางแล้ว ถุงมือไนไตร ยังทนต่อสารเคมีได้มากชนิดทั้งกรด เบส ไขมัน น้ำมันต่างๆ ซึ่งหากนำถุงมือแพทย์จากยางธรรมชาติไปสัมผัส อาจเกิดการละลายได้ (หากสารละลายนั้นเข้มข้นเกินไป)

แม้ว่าถุงมือไนไตรจะทานสารเคมีได้หลายชนิด แต่ก็ทนสารเคมีได้ไม่เท่ากัน โดยอาจจะทนสารบางอย่างได้ดีมาก (ทนได้ในความเข้มข้นสูง) และอาจทนสารบางอย่างได้ดีพอควร และอาจทนสารเคมีบางอย่างได้น้อย

ในบทความนี้ทางเวปได้ค้นคว้าและจัดกลุ่มสารเคมีที่ถุงมือไนไตรสามารถทนได้ในระดับ “ดีมาก” “ดี” จนถึง “ทนได้ในระดับต่ำ” ซึ่งทานผู้่านอาจใช้เป็นแนวทางในการเลือกใช้ว่า สารเคมีที่เราต้องสัมผัสนั้น สามารถใช้ถุงมือไนไตรได้หรือไม่

สารเคมีที่ถุงมือไนไตรสามารถทนได้ในระดับดีถึงดีมากมีดังต่อไปนี้ครับ

  • กรดอะซิติค (Acetic Acid)
  • ไฮโซบิวทิล แอลกอฮอล์ (Isobutyl Alcohol)
  • ไอโซออกเทน (Isooctane)
  • ไฮโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (Isopropyl Alcohol)
  • เคโรซีน (Kerosene)
  • อะลูมิเนียม ไฮดรอกไซด์ (Ammonium Hydroxide)
  • กรดแลคติก (Lactic Acid (85%))
  • เอมิล แอลกอฮอล์ (Amyl Alcohol)
  • บิลทิล แอลกอฮอล์ (Butyl Alcohol)
  • เมลทิล แอลกอฮอล์ (Methyl Amine)
  • กรดไซตริก (Citric Acid (10%))
  • โมโนเอททาโนลีน (Monoethanoline)
  • ออกทานอล (Octanol)
  • Dibutyl Phthalate
  • ไดเมททอล ซัลออกไซด์ (Dimethol Sulfoxide)
  • กรดโอเลอิก (Oleic Acid)
  • เพนตะคลอโรฟินอล (Pentachlorophenol)
  • กรดออกซาลิก (Oxalic Acid)
  • เอททิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol)
  • เอททิลไกคอล อีเทอร์ (Ethyl Glycol Ether)
  • เอททิลีน ไกลคอล (Ethylene Glycol)
  • โปตัสเซียม ไฮดรอกไซด์ (Potassium Hydroxide)
  • โพรพิล แอลกอฮอล์ (Propyl Alcohol)
  • โซเดียมไฮดรอไซด์ (Sodium Hydroxide)
  • เฮกเซน (Hexane)
  • กรดซัลฟิวลิก (Sulfuric Acid)
  • กรดไฮโดคลอลิก (Hydrochloric Acid (10%))
  • และอื่นๆ

 

สารเคมีที่ถุงมือไนไตรสามารถทนได้ในระดับพอควรมีดังต่อไปนี้ครับ

  • อะซิโตน (Acetone)
  • อะซิโตไนไตร (Acetonitrile)
  • เอมิล อะซิเตท (Amyl Acetate)
  • คาร์บอนเตตระคลอไรท์ (Carbon Tetrachloride)
  • เอททิล อีเทอร์ (Ethyl Ether)
  • ฟอร์มัลดิไฮท์ (Formaldahyde)
  • แกสโซลีน (Gasoline)
  • โทลูอีน (Toluene)
  • ไซลีน (Xylene)
  • เปอร์คลอโรเอททิลีน (Perchloroethylene)
  • และอื่นๆ

สารเคมีที่ถุงมือไนไตรสามารถทนได้ในระดับต่ำมีดังต่อไปนี้ครับ

  • เมททิล แอลกอฮอล์ (Methyl Alcohol)
  • เมททิล ที บิวทิล อีเทอร์ (Methyl T-Butyl Ether)
  • ไดอะซิโตน แอลกอฮอล์ (Diacetone Alcohol)
  • เอททิลอะซิเตท (Ethyl Acetate)
  • เพนเทน (Pentane)
  • และอื่นๆ

บทความนี้อาจดูไม่สนุก เพราะมีแต่ชื่อสารเคมี แต่เชื่อว่าจะมีประโยช์นอย่างยิ่ง เพราะมีหลายท่านโทรมาถามว่า ถ้าต้องสัมผัสสาร ตัวนั้นตัวนี้ จะสามารถใช้ถุงมือยางไนไตรได้ไหม คราวนี้เชื่อว่าท่านคงได้แนวทางแล้วนะครับ แต่ถ้าถามลึกๆว่าทนสารละลายตัวนั้นตัวนี้ได้ที่ความเข้มข้นเท่าไหร่ได้นั้น ขอให้เอาถุงมือไนไตรของทางเวปไปทดลองดีกว่าครับ (ตอนนี้ทางเวปยังไม่มีข้อมูลละเอียดขนาดนั้นครับ)

ท้ายสุด หากท่านต้องการซื้อ ถุงมือแพทย์ ถุงมือไนไตร ถุงมือไนไตรสีขาว ถุงมือไนไตรสีฟ้า ถุงมือไนไตรสีม่วง สามารถติดต่อทางร้านได้นะครับที่ www.siamglove.com

 

 

 

สงวนลิขสิทธิ์เนื้อหาและภาพครับ

Similar Posts