ถุงมือไนไตรกับกระบวนการแปรรูปสุกร
สุกร (swine) ถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญมากในประเทศไทย ชาวไทยบริโภคสุกรเป็นจำนวนมากในแต่ละปี และยังมีปริมาณมากพอที่จะส่งออกเพื่อสร้างรายได้ให้แก่กระเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปีอีกด้วย และการส่งออกสุกรนั้น สร้างรายได้ให้กับผู้เกี่ยวข้องในส่วนต่างๆของ ห่วงโซ่อุปทานนี้ไม่น้อยในแต่ละปี ตั้งแต่เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร จนถึงผู้ค้าปลีกเนื้อสุกรในตลาด รวมถึงผู้ค้าผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคสุกรและการเลี้ยงสุกรอีกด้วย ทั้งนี้ยังมีผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานอีกประเภทที่เราจะขาดเสียไม่ได้เลย ก็คือผู้ชำแหลและแปรรูปสุกร ซึ่งหากปราศจากขั้นตอนนี้แล้ว เราคงจะไม่มีเนื้อหรือส่วนต่างๆเอาไว้บริโภคเป็นแน่ และกระบวนการนี้มีความซับซ้อนมากกว่าการฆ่าและชำแหละเป็นชิ้นๆ การชำแหละและแปรรูปสุกรที่ถูกต้อง จะต้องคำนึงถึงสุขอนามัยของผู้บริโภคและธรรมาภิบาลในการดูแลสัตว์อย่างถูกต้องตามหลักการและมาตรฐานอื่นๆที่จำเป็นอีกด้วย ปัจจุบันมีโรงงานผลิตและแปรรูปสุกรจำนวนมากกระจายอยู่ตามภาคต่างๆ โดยหลักการแล้วเราอาจสงสัยว่าโรงงานหรือกระบวนการแปรรูปสุกรที่มีคุณภาพนั้นเป็นอย่างไร กระบวนการแปรรูปสุกร ก่อนที่เราจะนำสุกรมาผ่านการแปรรูป เราต้องควบคุมคุณภาพเนื้อสุกรตั้งแต่เริ่มต้น ต้องเริ่มตั้งแต่การผสมพันธุ์ โดยในปัจจุบันจะใช้การผสมเทียม ฉีดน้ำเชื้อเข้าไปที่ตัวแม่พันธุ์ และรอจนกระทั่งแม่สุกรคลอดลูกสุกรออกมา ในคราวหนึ่งจะคลอดประมาณ 10 ตัว หลังจากที่ลูกสุกรอยู่กับแม่สุกรไประยะหนึ่ง ก็จะแยกตัวลูกออกมาเลี้ยงในโรงอนุบาลลูกสุกรต่างหาก จนลูกสุกรเติบโตได้ขนาดที่เหมาะสมแล้ว ก็จะส่งไปโรงขุนเพื่อเพิ่มน้ำหนักให้ได้น้ำหนักที่ต้องการ เมื่อได้น้ำหนักที่ต้องการแล้ว ซึ่งปัจจุบัน จะอยู่ที่ประมาณตัวละ 100 กิโลกรัม ก็จะทำการขายสุกรนั้นออกไปให้แก่โรงชำแหละ