ถุงมือไนไตร ถุงมือยางไนไตร คืออะไร

ถุงมือไนไตร ถุงมือยางไนไตร : เป็นอย่างไร

ถุงมือไนไตรทุกวันนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยใช้กันในหลายๆวัตถุประสงค์ แต่วัตถุประสงค์หลักคือปกป้องมือของผู้สวมใส่ ทั้งจากสารพิษ สารเคมีและสารละลายต่างๆ ถุงมือยางไนไตรในปัจจุบันมีจำหน่ายหลายแบบและหลายขนาด หลาย texture โดยมีทั้งผิวหยาบและผิวเรียบ ซึ่งให้ความแตกต่างกันทั้งคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี นั่นก็เพื่อวัตถุประสงค์การใช้ที่หลากหลายนั้นเอง ดังนั้นเมื่อจะเลือกซื้อถุงมือยางไนไตร ควรพิจารณาถึงประเด็นเรื่องการป้องกัน หรือปกป้องมือเป็นหลัก ตลอดจนควรพิจารณาถึงคุณภาพ ทั้งวัสดุที่ใช้ผลิต ความหนา การแพ้ถุงมือ เป็นต้น
ถุงมือไนไตร ถุงมือยางไนไตร : ทำจากอะไร

ถุงมือยางไนไตรที่ใช้กันทั่วไป ทำจากยางสังเคราะห์ โดยสังเคราะห์จากปิโตรเลี่ยม และสารเคมีที่สำคัญๆเช่น acrylonitrile, butadiene และ carboxylic acid.

ถุงมือไนไตรมีส่วนประกอบสำคัญคือ กรดคาร์บอกซิลิก (carboxylic acid), อะไครโรไนไตร (acrylonitrile) และ บิวทาไดอีน (butadiene) สารประกอบแต่ละตัว จะทำให้คุณสมบัติของถุงมือไนไตรมีแต่ต่างกันออกไป โดยผมขออธิบายเป็นสังเขปดังนี้ครับ
1) Acrylonitrile – ช่วยทำให้ถุงมือไนไตรมีความต้านทานของสารละลายเพิ่มขั้น โดยถุงมือไนไตรจะทนสารละลายจำพวก กรด, เบส, แอลกอฮอล์, สารไฮโดรคาร์บอน, ไขมัน ตลอดจนนำมันประเภทต่างๆ ถ้าถุงมือไนไตรของโรงานไนมีเพิ่มความเข้มข้นของ acrylonitrile สูงก็จะทนสารละลายได้มาก และยิ่งถ้าเอาไปเปรียบเทียบถุงมือแพทย์ ซึ่งไม่มีสาร acrylonitrile เลย ทำให้ถุงมือแพทย์ทนต่อสารละลายได้น้อยมาก
2) Butadiene – สารบิวทาไดอีนที่ผสมในถุงมือยางไนไตร จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความนุ่นนวลให้กับถุงมือไนไตร
3) Carboxylic acid – กรดคาร์บอกซิลิกช่วยเพิ่มการทนต่อแรงดึงของถุงมือไนไตร ด้วยเหตุนี้ ถุงมือไนไตรที่เหนียว ขาดยาก ก็เพราะเจ้าตัวกรดคาร์บอกซิลิกตัวนี้แหละครับ

ดังนั้นถุงมือไนไตรที่ผลิตจากโรงงานต่างๆ จะมีสูตร และส่วนผสมของสารสามชนิดนี้ในอัตราส่วนแตกต่างกัน ทำให้ถุงมือไนไตรที่ผลิตมาจากโรงงานต่างกัน ด้วยสูตรที่แตกต่างกัน ก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันด้วยครับ
ถุงมือไนไตร ถุงมือยางไนไตร : ดีอย่างไร

คุณสมบัติพื้นฐานของถุงมือยางไนไตรจะคล้ายกับถุงมือแพทย์ทั่วไป แต่ถุงมือไนไตรมีความลื่นมากกว่าถุงมือแพทย์ จึงสวมใส่ง่ายกว่า อย่างไรก็ตามก็มีถุงมือไนไตรบางชนิดมีการใส่แป้งลงไป เพื่อให้ลื่นและสวมใส่ง่ายยิ่งขึ้น

เนื่องจากคุณสมบัติที่เหนียวและแข็งแรง ถุงมือไนไตรจึงมีข้อจำกัดคือ ความยืดหยุดอาจจะไม่เท่าถุงมือแพทย์ โดยมากถุงมือยางไนไตรจะใช้กับงานที่ไม่ต้องการความละเอียดมากเท่าถุงมือแพทย์ (จะใช้ในงานที่ค่อนข้างหยาบกว่า)
ถุงมือไนไตร ถุงมือยางไนไตร : มีกี่เกรด อะไรบ้าง ต่างกันอย่างไร

ในกระบวนการผลิตถุงมือ ไม่ว่าจะเป็นถุงมือยาง ถุงมือไวนิล หรือถุงมือไนไตรก็ตาม ต่างก็มีมาตฐานในการเลือกใช้ถุงมือ ออกเป็น 3 ระดับ (หรือ 3 เกรด) ถุงมือที่จัดเป็น เมดดิคัลเกรด (medical grade) จะมีมาตฐานการป้องกันสูงสุด (highest protection rating) ในต่างประเทศจะต้องผ่านมาตรฐานของ Food and Drug Administration (FDA) เลยทีเดียว

เกรดต่อมา เป็น high-risk category จะใช้ในการบริการทางการแพทย์ทั่วไป ถุงมือเกรดนี้จะผ่านการตรวจสอบค่อนข้างสูง เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถใช้งานได้เหมาะสม

เกรดสุดท้ายเป็น เกรดใช้งานทั่วไป (utility grade) วัตถุประสงค์ของเกรดนี้มีไว้ใช้ในงานอื่นๆที่ไม่ใช่ทางการแพทย์ จึงไม่ได้ทดสอบมาตราฐาน FDA ถุงมือชนิดนี้เหมาะที่จะใช้งานทั่วไป เช่นงานช่าง งานวิศวกรรม โดยเฉพาะงานอุตสหกรรมหนักเช่นงานอุตสาหกรรมรถยนต์ หรืองานที่ต้องสัมผัสสารละลาย ไม่ว่าจะเป็นกรด เบส น้ำมันต่างๆ

ปัจจุบันถุงมือไนไตรมีหลายแบบขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน ที่นิยมกันมากจะเป็นแบบบางและมีผิวหยาบที่ปลายนิ้ว กับ แบบหน้าที่มีผิวหยาบทั้งฝ่ามือ เหตุที่มีผิวหยาบก็เพื่อให้ยึดจับได้ถนัดมือ ไม่ลื่นหลุด (คล้ายๆ ลายนิ้วมือของเรา) ถุงมือยางไนไตรชนิดบาง นิยมใส่กันเพื่อให้เกิดความรู้สึกเหมือนสวมถุงมือแพทย์ชนิดจากยางธรรมชาติ ส่วนถุงมือยางไนไตรแบบหนานิยมใส่เพื่อการป้องกันที่ดีกว่า (รับกับงานหนักๆได้ดีกว่า) แต่ถุงมือยางไนไตรทั้งสองความหนาก็จะมีความยืดหยุ่น สวมใส่สบายคล้ายๆกัน

แม้ว่าถุงมือไนไตรจะทนสารเคมีได้หลากหลาย แต่ก็มิได้หมายความว่าจะทนสารเคมีได้ทุกชนิดในโลก และทนสารเคมีได้ทุกความเข้นข้นนะครับ การเลือกซื้อถุงมือยางไนไตร ถ้าจะให้ดีควรขอตัวอย่างมาทดสอบ เพราะผู้ขายทุกเจ้าสามารถให้ตัวอย่างมาทดสอบฟรีอยู่แล้ว อย่างเช่น Siamglove.com ก็มีการแจกตัวอย่างฟรีให้ลูกค้าเอาไปทดลอง หากท่านสนใจ สามารถติดต่อขอตัวอย่างได้ที่ทางร้านครับ

สงวนลิขสิทรูปบทความนะครับ

Similar Posts